หน่วยที่8 มัลติมิเตอร์แบบเข็ม

มัลติมิเตอร์แบบเข็ม


ลักษณะมัลติมิเตอร์แบบเข็ม

มาตรวัดไฟฟ้ากระแสตรงแบบเข็มชี้ชนิดต่างๆ จะพบว่าส่วนเคลื่อนไหวของมาตรวัดถูกผลิตขึ้นมาจากดาร์สันวาล์มิเตอร์เหมือนกัน



ใช้คุณสมบัติการทำงานด้วยกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าดาร์สันวาล์มิเตอร์เหมือนกัน แตกต่างเพียงวงจรส่วนประกอบและรายละเอียดที่นำมาใช้ในการผลิต มาตรวัดชนิดนี้สามารถใช้วัดค่าแรงดันไฟฟ้า วัดค่าความต้านทาน และวัดค่ากระแสไฟฟ้าได้ รวมไว้อยู่ในตัวเดียวกัน


ส่วนประกอบมัลติมิเตอร์แบบเข็ม

มัลติมิเตอร์ประกอบด้วย หน้าปัดแสดงสเกล ไดโอดเปล่งแสง เข็มชี้ สกรูปรับแต่งเข็มชี้ ปุ่มปรับเข็มชี้ ขั้วต่อเอาต์พุต สวิตช์ปรับเลือกย่าน ขั้วต่อสายวัดขั้วบวก และขั้วต่อสายวัดขั้วลบ


สเกลหน้าปัดมัลติมิเตอร์แบบเข็ม

สเกลหน้าปัดของมัลติมิเตอร์แบบเข็ม จะมีสเกลแสดงค่าปริมาณไฟฟ้าหลายชนิด ปริมาณไฟฟ้าแต่ละชนิดแสดงค่าออกมาแตกต่างกัน



ทำให้สเกลที่กำหนดไว้ที่หน้าปัดแต่ละสเกลมีความแตกต่างกัน ถูกแยกออกเป็นสเกลหลายช่องหลายแถว แต่ละช่องแต่ละแถวใช้แสดงปริมาณไฟฟ้าแต่ละชนิดโดยเฉพาะ


ข้อควรระวังในการใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็ม

1 ส่วนเคลื่อนไหวของมัลติมิเตอร์
2 การวัดปริมาณไฟฟ้าต่างๆ ที่ไม่ทราบค่า
3 การตั้งย่านวัดโอห์มหรือย่านวัดกระแสไฟฟ้า โดยนำไปวัดค่าแรงดันไฟฟ้า



4 ห้ามวัดค่าความต้านทานในวงจรที่มีกำลังไฟฟ้าจ่ายอยู่
5 ขณะพักการใช้มัลติมิเตอร์ทุกครั้ง
6 เมื่อหยุดการใช้งานมัลติมิเตอร์เป็นเวลานานๆ
7 ในกรณีการตั้งย่านวัดผิดพลาด



การใช้งานมัลติมิเตอร์แบบเข็ม


1 การวัดแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง

จะต้องปรับสวิตช์เลือกย่านวัดไปที่ย่าน DCV




2 การวัดแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ

จะต้องปรับสวิตช์เลือกย่านวัดไปที่ย่าน ACV




3 การวัดกระแสไฟฟ้ากระแสตรง

จะต้องปรับสวิตช์เลือกย่านวัดไปที่ย่าน DCmA




4 การวัดความต้านทาน

จะต้องปรับสวิตช์เลือกย่านวัดไปที่ย่าน Ω



เเบบทดสอบหน่วยที่ 8

  • หน่วยที่8 มัลติมิเตอร์แบบเข็ม