แอมมิเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง
เป็นมาตรวัดกระแสไฟฟ้ากระแสตรง ที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้วัดกระแสไฟฟ้า โดยดัดแปลงมาจากดาร์สันวาล์มิเตอร์ เพื่อให้การใช้งานเกิดความคล่องตัว และสามารถใช้งานได้อย่างกว้างขวาง

โครงสร้างดีซีแอมมิเตอร์
ประกอบด้วยตัวต้านทานต่อขนานกับขดลวดเคลื่อนที่ ทำหน้าที่แบ่งกระแสไฟฟ้าส่วนเกินจากที่ดาร์สันวาล์มิเตอร์รับไม่ได้ ให้ไหลผ่านตัวต้านทานขนาน ส่งผลให้ดาร์สันวาล์มิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้น

คำนวณและขยายย่านวัดดีซีแอมมิเตอร์
ดาร์สันวาล์มิเตอร์ที่มีตัวต้านทานต่อร่วมอยู่ด้วยนั้น ช่วยทำให้ดาร์สันวาล์มิเตอร์เปลี่ยนไปเป็นดีซีแอมมิเตอร์ได้ทันที ส่วนสำคัญของการต่อตัวต้านทานขนานเข้าวงจรจะต้องเลือกค่าความต้านทานที่เหมาะสมมาต่อใช้งาน

โดยพิจารณาจากค่ากระแสไฟฟ้าที่ต้องการใช้ดีซีแอมมิเตอร์ใช้วัดค่าได้ เป็นตัวกำหนดค่าความต้านทานขนานที่ต้องใช้งานค่าความต้านทานขนานค่าที่เหมาะสมดังกล่าวสามารถหาค่าได้โดยใช้วิธีคำนวณ

สเกลหน้าปัดและย่านวัดดีซีแอมมิเตอร์
ปกติสเกลหน้าปัดของดีซีแอมมิเตอร์ จะมีเลขศูนย์อยู่ด้านซ้ายของสเกล และตัวเลขจะค่อยๆเพิ่มขึ้นเป็นลำดับตามตำแหน่งสเกลที่เลื่อนมาทางขวามือ

ขณะปกติที่ดีซีแอมมิเตอร์ไม่ใช้งาน เข็มชี้ของดีซีแอมมิเตอร์ต้องชี้ที่ศูนย์เสมอ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าจ่ายให้ดีซีแอมมิเตอร์เข็มชี้จึงเริ่มบ่ายเบนไปทางขวามือ
วิธีการต่อดีซีแอมมิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้า
การต่อดีซีแอมมิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า วงจรประกอบด้วยแบตเตอรี่ หลอดไฟ และดีซีแอมมิเตอร์

การต่อตัวดีซีแอมมิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้า จะต้องต่อดีซีแอมมิเตอร์อนุกรมกับวงจรไฟฟ้า การต่อวัดกระแสไฟฟ้า ใช้หลัก ใกล้บวกต่อบวก ใกล้ลบต่อลบ
การอ่านค่ากระแสไฟฟ้าบนสเกลดีซีแอมมิเตอร์
สิ่งสำคัญในการอ่านค่าที่ถูกต้อง คือต้องฝึกฝนอ่านค่าบ่อยๆ จะช่วยให้เกิดความชำนาญและสามารถอ่านค่าได้ถูกต้องรวดเร็ว

การแบ่งส่วนย่อยๆ ของช่องว่างระหว่างขีดบนสเกลต้องจัดแบ่งให้ถูกต้อง โดยใช้วิธีการแบ่งส่วนช่องว่างขีดออกทีละครึ่งให้แบ่งส่วนย่อยลงทีละส่วนเป็นลำดับ จนถึงตำแหน่งที่เข็มชี้ค่า
