โครงสร้างมาตรวัดไฟฟ้ากระแสตรง
ปริมาณทางไฟฟ้า
การแสดงค่าปริมาณทางไฟฟ้าที่วัดออกมา แบ่งได้ 2 แบบ คือ แบบแสดงค่าการวัดออกมาในรูปของเข็มชี้บายเบน เรียกว่า เครื่องวัดแอนะลอก และแบบแสดงค่าการวัดออกมาในรูปแบบของตัวเลข เรียกว่า เครื่องวัดดิจิตอล

มาตรวัดไฟฟ้ากระแสตรง
เป็นเครื่องวัดไฟฟ้าแบบพื้นฐานที่ถูกสร้างขึ้นมาใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วไป มาตรวัดชนิดนี้จะมีส่วนแสดงผลอยู่ในรูปของเข็มชี้บ่ายเบนไป เรียกส่วนนี้ว่าส่วนเคลื่อนไหวของมาตรวัด

ดาร์สันวาล์มิเตอร์
มาตรวัดชนิดขดลวดเคลื่อนที่ ที่สร้างมาใช้งาน เป็นมาตรวัดชนิดใช้กับไฟฟ้ากระแสตรง ใช้ได้กับแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสไฟฟ้ากระแสตรงเท่านั้น

1 แม่เหล็กถาวรรูปเกือกม้า
เป็นแม่เหล็กถาวรมีความเข้มของสนาม แม่เหล็กสูง วางอยู่ด้านข้างทั้งสองของปลายเกือกม้า
เเบบทดสอบหน่วยที่ 2
2 เข็มชี้
เป็นเข็มชี้ของมาตรวัด ชี้ค่าที่วัดได้บนสเกลหน้าปัด แสดงค่าการวัดปริมาณไฟฟ้าออกมา

3 สปริง
เป็นขดลวดสปริง ขดเป็นวงกลมวนออกหลายวงซ้อนกัน คล้ายก้นหอย ทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมการเคลื่อนที่ของขดลวดเคลื่อนที่
.png)
4 ตุ้มถ่วงน้ำหนัก
เป็นตุ้มน้ำหนักอยู่ปลายด้านตรงข้ามกับเข็มชี้ เพื่อถ่วงน้ำหนักเข็มชี้ให้เกิดความสมดุลของน้ำหนักที่ตกบนขดลวดเคลื่อนที่
5 เดือยและรองเดือย
เป็นส่วนประกอบที่ต้องทำงานร่วมกัน ส่วนเดือยแหลมด้านหนึ่งยึดติดกับขดลวดเคลื่อนที่ อีกด้านหนึ่งเป็นเดือยแหลมไปสัมผัสกับรองเดือย
6 แท่งเหล็กคงที่
เป็นแท่งเหล็กทรงกระบอกยึดคงที่ ถูกวางอยู่ในส่วนตอนกลางของขดลวดเคลื่อนที่ ช่วยควบคุมเส้นแรงแม่เหล็กที่เคลื่อนที่มาจากขั้วเหนือไปยังขั้วใต้
การทำงานของมาตรวัดแบบเข็มชี้
มาตรวัดแบบเข็มชี้ถือเป็นมาตรวัดเบื้องต้นที่สามารถนำไปใช้วัดค่าปริมาณไฟฟ้า โดยอาศัยสนามแม่เหล็กผลักดันกัน ทำให้เข็มชี้บ่ายเบนไปชี้ค่าปริมาณไฟฟ้า แสดงผลออกมาบนสเกล

ดาร์สันวาล์มิเตอร์ชนิดห้อยแขวน
มาตรวัดชนิดห้อยแขวนนี้ได้เปลี่ยนส่วนของเดือยและรองเดือยมาเป็นแถบตึง ใช้ยึดส่วนอาร์เมเจอร์ ทำให้เกิดการยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น สามารถรับแรงกระแทกได้ดีขึ้น

ดาร์สันวาล์มิเตอร์ชนิดแกนกลางเป็นแม่เหล็ก
คือ แกนแท่งเหล็กคงที่ทรงกระบอกอยู่ตอนกลางอาร์เมเจอร์ เปลี่ยนให้เป็นแม่เหล็กถาวร มีโย้กเป็นวงแหวนทรงกระบอกล้อมรอบอยู่ด้วนนอกอาร์เมเจอร์อีกชั้น ช่วยให้มาตรวัดมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สาเหตุความผิดพลาดในการใช้มาตรวัด
1 ตัวผู้วัด
2 การเสียดสีของส่วนเคลื่อนไหว
3 การเสื่อมอายุ
4 ความร้อนในตัวมาตรวัด
5 สนามแม่เหล็กภายนอก
6 อุณหภูมิบริเวณโดยรอบมาตรวัด
7 เข็มชี้มาตรวัดเคลื่อนจากศูนย์
8 การเปลี่ยนแปลงของปริมาณไฟฟ้า
9 ลักษณะการใช้งานมาตรวัด