หน่วยที่10 มาตรวัดกำลังไฟฟ้า

มาตรวัดกำลังไฟฟ้า


กำลังไฟฟ้า

เป็นกำลังที่เกิดขึ้นจากการใช้ไฟฟ้าในการทำงาน หาได้จากการใช้พลังงานไฟฟ้ามีหน่วยเป็นจูล ทำให้อิเล็กตรอนเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งในหนึ่งหน่วยเวลาเป็นวินาที



กำลังไฟฟ้าเป็นวัตต์ คือ อัตราของงานที่ถูกกระทำในวงจร ซึ่งเกิดกระแสไฟฟ้าไหลเป็นแอมแปร์ เมื่อมีแรงดันไฟฟ้าถูกจ่ายให้วงจรเป็นโวลต์ นั่นคือกำลังไฟฟ้า


วัตต์มิเตอร์

ถูกดัดแปลงให้สามารถวัดค่ากำลังไฟฟ้าออกมาได้โดยตรง โดยการสร้างรวมเอาโวลต์มิเตอร์และแอมมิเตอร์ไว้ในตัวเดียวกัน



โครงสร้างของวัตต์มิเตอร์แบบอิเล็กโทรไดนาโมมิเตอร์ ประกอบด้วยขดลวด 3 ขด ขดลวด 2 ขดใหญ่เป็นขดลวดกระแสไฟฟ้า อีกขดหนึ่งเป็นขดลวดแรงดันไฟฟ้า




เเบบทดสอบหน่วยที่ 10

  • หน่วยที่10 มาตรวัดกำลังไฟฟ้า

  • การต่อใช้งานวัตต์มิเตอร์

    การนำวัตต์มิเตอร์ไปใช้งานต้องต่อเข้าวงจรของอุปกรณ์ที่ต้องการวัดกำลังไฟฟ้า โดยต่อใช้งานทั้งขดลวดอยู่กับที่ และขดลวดเคลื่อนที่ อย่างถูกต้อง



    โดยนำไปต่อกับภาระที่ต้องการวัดค่า และต่อเข้าแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าของวงจร


    การวัดและการอ่านค่ากำลังไฟฟ้า

    ก่อนการต่อวัตต์มิเตอร์เข้าวงจร ควรตรวจสอบทั้งแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าของวงจรก่อนเสมอ เพื่อป้องกันการชำรุดเสียหายของวัตต์มิเตอร์ การอ่านค่ากำลังไฟฟ้าจากวัตต์มิเตอร์แบบเข็มชี้ที่ถูกต้อง โดยต้องอ่านค่าจากหน้าปัดสเกลในตำแหน่งที่เข็มมิเตอร์ชี้ค่า นำมาคูณร่วมกับค่าตัวคูณในตารางคู่มือที่แนบติดมากับตัววัตต์มิเตอร์


    วาร์มิเตอร์

    กำลังไฟฟ้าที่วัดออกมาได้จากอุปกรณ์ไฟฟ้าและวงจรไฟฟ้า ที่ใช้งานกับสัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับมีด้วยกัน 3 ค่า คือ กำลังไฟฟ้าจริง กำลังไฟฟ้าตอบสนอง และกำลังไฟฟ้าปรากฏ



    กำลังไฟฟ้าตอบสนองเกิดขึ้นได้กับอุปกรณ์จำพวกตัวเหนี่ยวนำ และตัวเก็บประจุ มีหน่วยเป็นวาร์ (VAR) กำลังไฟฟ้าตอบสนองนี้วัตต์มิเตอร์ไม่สามารถวัดค่าได้ จึงต้องใช้วาร์มิเตอร์ในการวัดค่า


    เพาเวอร์แฟกเตอร์มิเตอร์

    เป็นมาตรวัดที่ใช้วัดค่าของอุปกรณ์ไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กำลังทำงาน เพื่อให้ทราบค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์จริงขณะทำงานว่าเหมาะสมหรือไม่




    วัตต์อาวร์มิเตอร์

    เป็นมาตรวัดที่ทำงานด้วยการเหนี่ยวนำไฟฟ้า ใช้เป็นมาตรวัดการใช้พลังงานไฟฟ้าในบ้านเรือน ในโรงงานอุตสาหกรรม และในสถานที่ต่างๆ